วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"

เนื้อหาข่าว




โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของการถูกตัดขาหรือเท้า ซึ่งการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากเพราะ ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทำให้อาจสูญเสียงานและอยู่ในสภาพที่ต้องการการฟื้นฟูในช่วงแรก ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญ              ซึ่งเทคโนโลยี การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า จะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องตัดขาทิ้ง พร้อมทั้งให้ข้อมูลในการป้องกันและการดูแลผิวหนัง ให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยในแต่ละบุคคล เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากแผลและลดโอกาสของการสูยเสียอวัยวะของผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ  โดยเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบันนี้มากมายทั้ง Ultrasonic ( เทคโนโลยีการเลาะเนื้อเยื่อเล็ก )  Versajet Debridement ( การผ่าตัดด้วยน้ำ )  Hyperbaric oxygen therapy ( HBOT )  ( เทคโนโลยีการบำบัดออกซิเจนเพื่อสุขภาพ ) สำหรับในแต่ละวิธีนั้นจะมีข้อดีที่เป็นประโยชน์และผลดีต่อผู้ป่วย เช่น ลดจำนวนแบคทีเรียบริเวณบาดแผล   คงไว้ซึ่งเนื้อเยื่อที่ดี   กำจัดเนื้อเยื่อที่ตายหรือเซลล์ที่ตายแล้วทิ้งไป                ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น
วิเคราะห์ข่าว
โรคเบาหวานถือได้ว่าเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งสำหรับผู้ป่วย ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานขึ้นอย่างมากซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าโรคนี้เมื่อเกิดบาดแผลจะรักษายาก โดยเฉพาะบริเวณเท้าถ้าเป็นแล้วจะหายยากมากและถ้ายิ่งไม่ดูแลรักษาให้ดีอาจจะเน่าและต้องตัดทิ้ง ทางการแพทย์จึงได้คิดค้นวิธีการรักษาและได้นำเทคโนโลยีต่างๆเข้าาช่วยทำไห้การรักษามีผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มาข่าว

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"






วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่7

ทำความรู้จัก “ไซมอน” ผู้ช่วยนักบินอวกาศระบบปัญญาประดิษฐ์ตัวแรกของโลก เดินทางสู่สถานีอวกาศนานาชาติ

เนื้อหาข่าว
นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจไอบีเอ็ม คลาวด์ และโซลูชันส์ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยถึงความสำเร็จของแอร์บัส (Airbus) ในการพัฒนา “ไซมอน” (Crew Interactive Mobile Companion หรือ CIMON) ในนามของศูนย์อวกาศยานเยอรมัน (German Aerospace Center: DLR) โดยไซมอนเป็นหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ที่ใช้เทคโนโลยีไอบีเอ็ม วัตสัน ที่ได้ติดตามนักบินอวกาศ อเล็กซานเดอร์ เกิร์สต ไปสู่สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจสำคัญ 3 ประการ คือ การร่วมกันทำการทดลองกับคริสตัล การแก้ไขปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกโดยอาศัยวิดีโอต่างๆ และการทดลองทางการแพทย์ที่ซับซ้อนโดยใช้ไซมอนทำหน้าที่กล้องบินได้แบบ “อัจฉริยะ” และไซมอนเรียนรู้อย่างไร
ปัจจุบันไซมอนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถระบุสภาพแวดล้อมของตนและสามารถระบุคู่สนทนาที่เป็นมนุษย์ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กับตนได้ โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยให้ไซมอนสามารถประมวลผลข้อความ คำพูด และรูปภาพ รวมถึงช่วยดึงข้อมูลและข้อค้นพบต่างๆ ได้อีกด้วย ทักษะเหล่านี้ (ซึ่งสามารถฝึกฝนทีละส่วนและเพิ่มความลึกซึ้งในบริบทของงานที่ได้รับมอบหมายเข้าไปได้) ได้รับการพัฒนาขึ้นบนหลักการของการทำความเข้าใจ การให้เหตุผล และการเรียนรู้โมเดลข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของไอบีเอ็มช่วยให้องค์กรสามารถฝึกโมเดล AI ด้วยเทคโนโลยีของวัตสัน โดยไม่จำเป็นต้องผสานรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือมีกรรมสิทธิ์เข้ากับโมเดลแบบสาธารณะแต่อย่างใด และจะไม่มีองค์กรใด (หรือแม้แต่ไอบีเอ็ม) ที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้พัฒนาแอพพลิเคชัน AI อื่นๆ เพิ่มเติมได้ ช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญมากของตนไว้เป็นส่วนตัวและภายใต้กรรมสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงข้อมูลของบริษัทจะถูกนำไปใช้สร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวบริษัทเองเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้แอร์บัสเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรในการพัฒนาไซมอน
วิเคราะห์ข่าว
สำหรับหุ่นยนต์ไซม่อนนี้เป็นหุ่นยนต์ที่ถูกพันาขึ้นมาเพื่อไห้มามีส่วนช่วยในองกรอวกาศ เป็นหุ่นที่เข้าช่วยในด้านความปลอดภัยและช่วยเหลืองานด้านต่างๆของทีมอวกาศ หุ่นยนต์ไซม่อนเรียนรู้และมีพัฒนาการที่เร็วจึงทำให้สามารถช่วยงานทีมอวกาศได้อย่างมาก
ที่มาข่าว

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่6

พัฒนาสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุดในโลก

เนื้อหาข่าว
การแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงแค่ประสิทธิภาพการทำงานสุดล้ำ แต่ยังแข่งกันที่ขนาดของนวัตกรรมใหม่ด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กตัวนี้มีขนาด 0.3 มิลลิเมตร เทียบแล้วก็เล็กกว่าเมล็ดข้าว ประกอบด้วยแรม (RAM), โฟโตโวลตาอิกส์ (Photovoltaics) เป็นตัวแปลงพลังงานแสง  อย่างไรก็ตาม นักวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาสร้างคอมพิวเตอร์จิ๋วเผยว่า ยังคงต้องพัฒนาคอมพิวเตอร์จิ๋วตัวนี้ต่อไปไห้ดียิ่งขึ้น

วิเคราะห์ข้อมูล
นวัตกรรมนี้ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมมใหม่ของคอมพิวเตอร์ที่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงไห้มีขนาดเล็กและมีการทำงานที่แลกใหม่ยิ่งขึ้น ทั้งอุปกรณ์ภายในตัวเครื่องที่เล็กและดีมากยยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้เทคโนโลยีก็ยังพบปัญหาคือเมื่อทำออกมาก็ยังไม่สามารถบอกทันทีว่าจะใช้ได้หรือ สำหรับปัญหานี้ก็ยังคงต้องแก้ไขและพัฒนาต่อไป

ที่มาของข่าว
ข่าวคอมจิ๋ว

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่5

ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดตัวเครื่องมัลติฟังก์ชั่นขาว-ดำแบบหน้ากว้าง เพิ่มประโยชน์ใกรุงเทพฯ--6 ก.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง


เนื้อหาข่าว
กรุงเทพฯ--6 ก.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง
ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดตัวเครื่องมัลติฟังก์ชั่นขาว-ดำแบบหน้ากว้าง เพิ่มประโยชน์ใช้งานในอุตสาหกรรมก่อสร้างและวิศวกรรม
DocuWide(R) 6057/3037 Series พิมพ์เร็วกว่า 1.4 เท่า ด้วยความละเอียด 1200 dpi  บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัวเครื่องมัลติฟังก์ชั่นขาว-ดำ ขนาด A0 จำนวน 5 โมเดลในตระกูล DocuWide 6057/3037 Series ซึ่งมอบความเร็วในการพิมพ์และความละเอียดที่เหนือกว่า ผลิตภัณฑ์ซีรี่ส์ใหม่นี้จะช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานและการผลิตผลงานสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการก่อสร้าง ซึ่งต้องการระบบการพิมพ์ที่รวดเร็ว มีคุณภาพสูง และรองรับการใช้งานในหลายสถานที่

วิเคราะห์ข่าว
จากข่าวนี้ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อนเป็นตัวช่วยในการทำงานทางด้านวิศกรรมไห้ง่าย  สะดวก รวดเร็วและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกทั้งเจ้าเครื่องนี้สามารถใช้กับทุกที่ถือว่าเป็นข้อพิเศษที่ดีมากกับงานนี้เพราะวิศวกรรมต้องไปตามสถานที่ต่างๆถ้าได้เครื่องมือที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำไห้ทำงานลำบาก การีเจ้าเครื่องนี้มาทำไห้งานวิศกรรมศาสตร์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ที่มาข่าว
ข่าเครื่องปริ้นฟูจิ 




ข่าวประจำสัปดาห์ที่14

นักวิจัยพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ให้แก้ไขความผิดพลาดในการทำงานด้วยตัวเอง เนื้อหาข่าว รองศาสตราจารย์แอดโมนี่และทีมงานวิจัยซึ่งเป็นนักศึกษาของ...