วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่14

นักวิจัยพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ให้แก้ไขความผิดพลาดในการทำงานด้วยตัวเอง

เนื้อหาข่าว

รองศาสตราจารย์แอดโมนี่และทีมงานวิจัยซึ่งเป็นนักศึกษาของเธอ กำลังพยายามโปรแกรมให้หุ่นยนต์ชื่อ Baxter ทดลองทำงานเป็นพนักงานร้านของชำ ทำหน้าที่ช่วยหยิบสินค้าใส่ถุง และทีมงานใช้กล้องถ่ายภาพมาตรฐานร่วมกับกล้องถ่ายภาพเเสงอินฟราเรด เพื่อช่วยให้หุ่นยนต์ Baxter จดจำสิ่งของต่างๆ ได้รองศาสตราจารย์แอดโมนี่ กล่าวว่า ส่วนที่น่าสนใจมากที่สุดไม่ได้อยู่ที่ความสามารถในการรับรู้เเละเข้าใจในงานที่ทำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หุ่นยนต์สามารถนำข้อมูลที่เข้าใจไปใช้งานด้านเหตุผลอย่างไรแต่ก็เกิดคำถามว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมทีมนักวิจัยจึงไม่รวมเอาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหรองศาสตราจารย์แอดโมนี่กล่าวว่า การรวมเอาข้อผิดพลาดเเละทางแก้เข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ของหุ่นยนต์ไม่มีประสิทธิผลเสมอไปเพราะความผิดพลาดยังมีโอกาสอาจหลุดรอดการทำงานของหุ่นยนต์ไปได้เเละเมื่อเจอกับสถานการณ์ใหม่ หุ่นยนต์ต้องพยายามเข้าใจงานใหม่ตรงหน้า เเละจะต้องตั้งข้อจำกัดใหม่เกี่ยวกับข้อผิดพลาดทั้งหมดอีกครั้ง โครงการนี้นานสี่ปี และเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยบริกแฮม ยัง (Brigham Young University) มหาวิทยาลัยเทิร์ฟส (Tufts University) และมหาวิทยาลัยแห่งรัฐแมสสาชูเซ็ทส์ (University of Massachussetts)
วิเคราะห์ข่าว
การใช้หุ่นยนต์มาช่วยเหลือมนุษย์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีก็คือสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องหยุดพัก ข้อเสียคือไม่สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดของงานได้และหุ่นยนต์ยังมีข้อจำกัดอีกมากซึ่งในจุดข้อเสียนี้อยู่ส่วนที่ดร.ต้องแก้ปัญหาต่อไป
ที่มาข่าว

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่13

สายรัดข้อมือเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อดูแลสุขภาพ

เนื้อหาข่าว

ทีมวิศวกรจากมหาวิทยาลัยรัสเกอร์ส เมืองนิวบรันสวิก รัฐนิวเจอร์ซีย์ ในสหรัฐอเมริกา เผยถึงการพัฒนาสร้างสายรัดข้อมือที่ช่วยติดตามสุขภาพและมลพิษในอากาศที่
สายรัดข้อมืออัจฉริยะนี้ใช้วัสดุเป็นพลาสติกติดตั้งแผงวงจรที่มีความยืดหยุ่น โดยมีไบโอเซนเซอร์ (biosensor) เครื่องตรวจวัดทางชีวภาพ สามารถวัดอัตตราการเต้นของหัวใจ การออกกำลังกาย มีลักษณะเป็นช่อง พร้อมฝังขั้วไฟฟ้าสีทองเผื่อประมวลผลและส่งผลกับสมาร์ทโฟน เทคโนโลยีดังกล่าวจะ ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์สามารถติดตามตรวจสอบสุขภาพได้อย่างต่อเนื่อง ช่วยให้การรักษาทางการแพทย์ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ่น

วิเคราะห์ข่าวเทคโนโลยีสายรัดข้อมือนี้เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในเรื่องสุขภาพของเราได้ดีมากขึ้น เป็นเหมือนผู้คอยดูแลตรวจตาสุขภาพของเราอยู่เสมอ ทำไห้กาดูแลพัฒนาสุขภาพไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ที่มาข่าว
สายรัดข้อมือ


วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่12

รวบชายใช้พาสปอร์ตปลอมเข้าสหรัฐฯ ด้วยเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

เนื้อหาข่าว
ทางการจับกุมชายวัย 26 ปี ที่เดินทางจากนครเซา เปาโล ของบราซิล ซึ่งพยายามเข้าสหรัฐฯโดยใช้พาสปอร์ตปลอมของฝรั่งเศส แต่ระบบจดจำใบหน้าสามารถระบุตัวได้ว่าข้อมูลบนใบหน้าของเขาไม่ตรงกับสัญชาติของหนังสือเดินทางที่เขาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเข้าตรวจค้นจึงพบว่า ชายคนดังกล่าวมีสัญชาติคองโก และซ่อนบัตรประจำตัวประชาชนของตัวเองไว้ในรองเท้า  เจ้าหน้าที่หน่วยงานศุลกากรนำร่องการใช้ระบบจดจำใบหน้า ตามด่านตรวจคนเข้าเมืองของสนามบิน ซึ่งเริ่มใช้ระบบนี้เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาปัจจุบัน มีหลายประเทศทั่วโลกที่เริ่มนำระบบดังกล่าวไปใช้ โดยเฉพาะที่ประเทศจีน ซึ่งมีการใช้ระบบจดจำใบหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่วนที่สหรัฐฯ ก็เริ่มใช้ระบบนี้บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองตามพรมแระบบจดจำใบหน้า เริ่มได้รับความสนใจในสหรัฐฯ เมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่ผู้ก่อเหตุกราดยิงในสำนักงานของหนังสือพิมพ์ Capital Gazette ที่เมืองแอนนาโพลิส รัฐแมรีแลนด์ ซึ่งช่วยระบุตัวผู้ก่อเหตุ ที่ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือเพื่อระบุเอกลักษณ์ดนสหรัฐฯ ท่ามกลางเสียงคัดค้านว่าอาจเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

วิเคราะห์ข่าว
จากข่าวนี้เราสามารถทราบและมองเห็นข้อดีของเทคโโลยีขนิดนี้เป็นอย่างมากเพราะช่วยไห้การทำงานของมิจฉาชีพทำงานได้ยากมากยิ่งและอาจจะส่งผลในอนาคตไห้มิจฉาชีพหมดไปจากสังคม

ที่มาข่าว

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่11

นักอนาคตศาสตร์เชื่อ ใน 30 ปี เทคโนโลยีจะช่วยให้คนมีชีวิต “อมตะ”

เนื้อหาข่าว
ความคิดนี้มาจากการคาดคะเนของดร. Ian Pearson นักอนาคตศาสตร์ (futurologist) ระดับแนวหน้า “ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีเชื่อได้ว่าคนที่มีชีวิตอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2593 อาจมีชีวิตที่เป็นอมตะ”  ดร.ใช้ทั้งความรู้ จิตวิทยา ความเชื่อมาผสมรวมกันเพือหาคำตอบ ดร. Pearson เชื่อว่าเทคโนโลยีทั้งหลายทั้งปวงเพื่อชีวิตที่เป็นอมตะนี้เกิดได้ภายในปี 2593 หรืออีกประมาณ 30 ปี “ถ้า คุณเกิดหลังปี 2513 ปีนี้คุณอายุ 48 คนที่อายุไม่ถึง 50 ถือว่ายังมีโอกาสได้ใช้เทคโนโลยีนี้ หรือก็คือมีโอกาสจะมีชีวิตที่เป็นอมตะ ส่วนคนที่ตอนนี้ยังอายุไม่ถึง 40 คุณได้รับโอกาสนั้นแน่นอน” ในช่วงแรกค่าใช้จ่ายจะต้องสูงมากแน่ ๆ ซึ่งจะมีเพียงมหาเศรษฐีเท่านั้นที่เอื้อมถึง แต่ให้หลังประมาณ 10 ปี ชนชั้นกลางทั่วไปก็น่าจะเข้าถึงได้

วิเคราะห์ข่าว
คนเรานั้นไม่มีใครอยากตาย อยากแก่ด้วยความคิดและความเชื่่่อเหล่านี้เองจึงนำมาสู่การค้นคว้าประดิษฐ์เทคโนโลยีนี้ขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าจะใช้ได้จริงหรือไม่อย่างไร ยังคงต้องทดลองและหาคำตอบกันต่อไป

ที่มาข่าว




วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ข่าวสัปดาห์ที่10

“เทคโนโลยีติดรถยนต์” ที่ฉันขาดเธอไม่ได้!

เนื้อหาข่าว
นับวันเทคโนโลยีในรถยนต์ยิ่งพัฒนาเดินหน้าไปเรื่อยๆ ใครจะไปคิดว่าเทคโนโลยีบางอย่าง ซึ่งในช่วงเริ่มแรกเรามองเป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่จำเป็น ที่สำคัญเป็นออฟชั่นที่แพงแสนแพง กลับกลายเป็นสิ่งที่คนใช้รถจะขาดไม่ได้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งไอ้เจ้าเทคโนโลยีที่ว่านี้มีอะไรบ้าง Tonkit360 รวบรวมมาฝากกัน

กระจกไฟฟ้า  หากย้อนกลับไปในสมัยคุณพ่อการจะเปิดกระจกรถแต่ละครั้งจะต้องใช้พละกำลังจากแขนและมือด้านขวา วันดีคืนดีฟันเฟืองเกิดฝืดขึ้นมาจะเปิดกระจกแต่ละครั้งเล่นเอากล้ามขึ้นกันเลยทีเดียว ก่อนที่ปัจจุบันกระจกไฟฟ้าแทบจะกลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อที่ออกจากโรงงาน

แบตเตอรี่แบบแห้ง แบตเตอรี่แบบแห้งถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ทำให้คนใช้รถยุคนี้วางใจไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเป็นเวลาหลายๆเดือน และเชื่อแน่ว่าร้อยทั้งร้อยไม่อยากที่จะกลับไปใช้แบตเตอรี่ชนิดที่ต้องคอยเติมน้ำกลั่นอยู่อีกครั้งแน่นอน

เซ็นเซอร์ถอยและกล้องมองหลัง  คนใช้รถที่อายุ 35 ขึ้นไป ย่อมต้องเคยผ่านประสบการณ์ถอยรถด้วยความสามารถเฉพาะตัวล้วนๆ จากการกะระยะด้วยตัวเองและมองกระจกหลัง ทว่านับจากเทคโลโนยี เซ็นเซอร์ถอยและกล้องมองหลัง เปิดตัวครั้งแรกในปี 2002 เทคโนโลยีชิ้นนี้คือสิ่งที่ทำให้คนขับรถเคยตัว! เป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งข้อดีข้อเสีย

กุญแจรถระบบ Keyless  ระบบ Keyless ที่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องใช้กุญแจทั้งการสตาร์ท กระทั่งการกดรีโมทเพื่อเปิดรถ นี่แหละอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกให้คนใช้รถยุคนี้ตัวจริง

ระบบเบรก ABS
เทคโนโลยีที่ช่วยให้ล้อรถของคุณไม่ล็อกจนควบคุมทิศทางไม่ได้ในขณะที่เบรกแบบกะทันหันหรือประสบอุบัติเหตุ ซึ่งรถรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันล้วนมีการติดตั้งระบบนี้เป็นมาตรฐานจากโรงงานเป็นที่เรียบร้อย

วิเคราะห์ข่าว
รถ ถือได้ง่าเป็นยานพาหนะที่สำคัญ ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันระบบและอุปกรณ์ภายในรถถูกพัฒนาขึ้นมาก โดยได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพํฒมนา ซึ่งระบบและอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้นต่างก็มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกันไป 
 
ที่มาข่าว


วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่9

หากติดอยู่ภายในถ้ำ เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ตัวไหนจะช่วยเราได้

เนื้อหาข่าว

จากกรณีที่มีน้อง ๆ และโค้ชทีมฟุตบอล “หมูป่า” ทั้ง 13 คน ติดอยู่ใน “ถ้ำหลวง” เขตอุทยานขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย หากเกิดขึ้นกับเรา จะมีอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีอะไร มาช่วยยื้อชีวิตเราได้บ้าง อย่างแรกที่จำเป็นแน่นอน และคงเป็นอะไรที่ทุกคนพกติดตัวเสมอคือ “สมาร์ทโฟน” เพราะสามารถใช้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ หรือเป็นสิ่งช่วยประคองจิตใจไปเลยก็ได้ (เช่น บางคนอาจมีรูปครอบครัวในเครื่อง) แต่สมาร์ทโฟนอย่างเดียวคงไม่พอ ลองมาดูกันว่า  ยังมีอะไรที่จะสามารถช่วยเราหากติดอยู่ภายในถ้ำได้บ้าง

Power Bank กันน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยยืดอายุเครื่องมือสื่อสารให้ใช่งานได้นานขึ้น ซึ่งถ้าหากเราต้องติดภายในถ้ำเป็นเวลานานควรมีความจุอย่างน้อย 10,000 mAh ขึ้นไปก็จะดีมาก เผื่อเราอาจต้องติดอยู่ในนั้นเป็นเวลาหลายวัน

ไฟฉาย ช่วยให้ความสว่าง

เครื่องกรองน้ำพกพา  น้ำในถ้ำเป็นน้ำที่มีเศษดินและสิ่งสกปรกตามมา ดังนั้นสิ่งที่ควรมีเครื่องกรองน้ำพกพาเพื่อกรองน้ำให้สะอาดเหมาะต่อการดื่ม เพราะร่างกายคนเราขาดน้ำไม่ได้  

ออกซิเจนกระป๋อง  ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ได้ในช่วงเวลาหนึ่ง มีข้อดีคือพกพาง่าย ข้อเสียคือ มีปริมาณอากาศไม่มากนัก (ขึ้นอยู่กับขนาดกระป๋อง) และเป็นแบบใช้แล้วทิ้งเลย แต่มีไว้ดีกว่าไม่มีเลย

Estream แบตฯ สำรองพลังกระแสน้ำ  มีรูปร่างเป็นท่อเล็ก ๆ ติดใบพัดที่ถอดแยกออกจากกันได้ เมื่อนำไปจุ่มลำธารที่มีกระแสน้ำไหลอยู่ ก็จะทำให้ใบพัดหมุนจนเกิดเป็นพลังงานกล แล้วกลายเป็นพลังงานไปชาร์จตัว Power Bank อีกทีนั่นเอง ถ้าโชคดีในถ้ำที่ติดอยู่มีกระแสน้ำไหลแรง ก็สามารถเอาตัว Enomad Uno ผูกติดเชือกแล้วหย่อนลงกระแสน้ำที่เจอได้ เท่านี้ก็มีพลังงานไว้ใช้ได้ตลอดแล้ว


Zippo Hand Warmer ที่อุ่นมือ  เป็นที่อุ่นมือแบบพิเศษ ซึ่งบางคนน่าจะเคยเห็นเมื่อหลายปีมาแล้ว ส่วนการทำงานของอุปกรณ์นี้ ก็ใช้หลักการเผาไหม้ภายในของใย “Rayon” สร้างเป็นไอความร้อนในตัว (ไม่ได้มาเป็นเปลวไฟเลยนะ) วิธีใช้ก็นำน้ำมันไฟแช็ก เทผ่านถ้วยตวงน้ำมันที่แถมมาลงไปในตัว Zippo จากนั้นก็เอาไฟแช็กมาลนจนเริ่มมีความร้อน เสร็จแล้วก็นำไปใส่ในซองที่แถมมาอีกเช่นกัน ทำให้กลายเป็นถุงสำหรับอุ่นมือออกมา ช่วยป้องกันความหนาวได้พอประมาณในระยะหนึ่ง

วิเคราะห์ข่าว

 การติดถ้ำเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากไห้เกิดขึ้น จากข่าวดังของทีม13หมูป่าที่เป็นข่าวใหญ่เป็นการที่โค้ชและทีมนักฟุตบอลเข้าไปติดภายในถ้ำ เป็นที่แน่นอนและทราบกันดีแล้วว่าภายในถ้ำนั้นทั้งมืด หนาว ไม่มีอาหาร แต่เราก็ต้องเอาตัวรอดออกาไห้ได้สิ่งที่ควรมีึคืออุปกรณ์ช่วยดำรงชีวิตและสติ อุปกรณ์ที่ควรมี เช่น ไฟฉาย power bank ออกซิเจนกระป๋อง เป็นต้น

ที่มาข่าว
ข่าวถ้ำ




วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ข่าวประจำสัปดาห์ที่8

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"

เนื้อหาข่าว




โรคเบาหวานเป็นสาเหตุหลักของการถูกตัดขาหรือเท้า ซึ่งการถูกตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมากเพราะ ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้อื่น ทำให้อาจสูญเสียงานและอยู่ในสภาพที่ต้องการการฟื้นฟูในช่วงแรก ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่สำคัญ              ซึ่งเทคโนโลยี การรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยแผลเบาหวานที่เท้า จะสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องตัดขาทิ้ง พร้อมทั้งให้ข้อมูลในการป้องกันและการดูแลผิวหนัง ให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยในแต่ละบุคคล เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากแผลและลดโอกาสของการสูยเสียอวัยวะของผู้ป่วย ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นสำคัญ  โดยเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบันนี้มากมายทั้ง Ultrasonic ( เทคโนโลยีการเลาะเนื้อเยื่อเล็ก )  Versajet Debridement ( การผ่าตัดด้วยน้ำ )  Hyperbaric oxygen therapy ( HBOT )  ( เทคโนโลยีการบำบัดออกซิเจนเพื่อสุขภาพ ) สำหรับในแต่ละวิธีนั้นจะมีข้อดีที่เป็นประโยชน์และผลดีต่อผู้ป่วย เช่น ลดจำนวนแบคทีเรียบริเวณบาดแผล   คงไว้ซึ่งเนื้อเยื่อที่ดี   กำจัดเนื้อเยื่อที่ตายหรือเซลล์ที่ตายแล้วทิ้งไป                ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท เป็นต้น
วิเคราะห์ข่าว
โรคเบาหวานถือได้ว่าเป็นโรคร้ายอย่างหนึ่งสำหรับผู้ป่วย ปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานขึ้นอย่างมากซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าโรคนี้เมื่อเกิดบาดแผลจะรักษายาก โดยเฉพาะบริเวณเท้าถ้าเป็นแล้วจะหายยากมากและถ้ายิ่งไม่ดูแลรักษาให้ดีอาจจะเน่าและต้องตัดทิ้ง ทางการแพทย์จึงได้คิดค้นวิธีการรักษาและได้นำเทคโนโลยีต่างๆเข้าาช่วยทำไห้การรักษามีผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ที่มาข่าว

เทคโนโลยีการรักษา "แผลที่เท้า" ของผู้ป่วย "เบาหวาน"






ข่าวประจำสัปดาห์ที่14

นักวิจัยพยายามพัฒนาหุ่นยนต์ให้แก้ไขความผิดพลาดในการทำงานด้วยตัวเอง เนื้อหาข่าว รองศาสตราจารย์แอดโมนี่และทีมงานวิจัยซึ่งเป็นนักศึกษาของ...